RISE — เปิดตัวหลักสูตรทรานส์ฟอร์มผู้บริหารด้านความยั่งยืนหลักสูตรแรกของประเทศไทย ในงาน Sustainable Transformation Xponential Forum

9 สิงหาคม พ.ศ.2566 — RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ผู้ก่อตั้งหลักสูตร STX หรือ Sustainability Transformation Xponential จัดเวทีเสวนา Sustainable Transformation Xponential Forum

ในหัวข้อ “Climate Catalyst: Unveiling the Risks and Opportunities for Humanity and Corporations” เพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญและความเร่งด่วนของวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ องค์กร และชีวิตของมนุษยชาติ ที่ผู้ประกอบการ ภาครัฐ และองค์กรต่างๆ ต้องร่วมมือแก้ไขในทันที พร้อมพูดคุยเกี่ยวกับการมองหาโอกาสและทางรอดของธุรกิจเพื่อที่จะสามารถเร่งสปีดให้ผู้บริหารสามารถปรับตัวและสร้างธุรกิจที่เป็น “Zero Carbon Business” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากรายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก พบว่าอุณหภูมิของโลกระหว่างปี พ.ศ. 2566–2570 มีโอกาสถึง 66 เปอร์เซ็นต์ที่จะสูงขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณภูมิของโลกที่สูงขึ้นแม้เพียง 1 องศาก็สามารถส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในส่วนของผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรมที่สภาพภูมิอากาศมีผลต่อการผลิตเป็นอย่างมาก

โดยการเปลี่ยนแปลงองค์กรต้องเริ่มจากผู้บริหาร ที่ต้องเปลี่ยนแนวคิดการสร้างธุรกิจที่คำนึงถึงการลดปล่อยคาร์บอนให้น้อยที่สุด และสามารถทำให้เป็นศูนย์ได้โดยเร็ว เมื่อธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มตัวเองได้ ก็จะเป็นแบบอย่างให้กับห่วงโซ่อุปทานในระบบเศรษฐกิจ เช่นผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ ให้เร่งปรับตัวตามลูกค้าหรือธุรกิจที่เปลี่ยนไป

ทั้งหมดจึงกลายเป็นเหตุผลให้ RISE จัดทำหลักสูตร Sustainability Transformation Xponential หรือ STX ขึ้นมา ด้วยความมุ่งมั่นให้เป็นหลักสูตรความยั่งยืนสำหรับผู้บริหารที่เข้มข้นที่สุดในประเทศไทย และสามารถช่วยให้ผู้บริหาร นักลงทุน และผู้ทำงานด้านความยั่งยืนทุกคน ได้องค์ความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นไปขับเคลื่อนความยั่งยืนในองค์กรของตน และกลายเป็นผู้นำในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero Target) ได้เป็นกลุ่มแรกของประเทศ โดยในเวทีเสวนา Sustainable Transformation Xponential Forum เป็นการเปิดตัวหลักสูตร STX อย่างเป็นทางการ

นอกจากความจำเป็นและเร่งด่วนที่ไม่อาจรอได้อีกต่อไป อีกหนึ่งเหตุผลในการสร้างหลักสูตรนี้ เกิดจากความกังวลและความสงสัยส่วนตัวของ ‘หมอคิด-นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์’ และ ‘โจ้-ธนา เธียรอัจฉริยะ’ สองผู้ก่อตั้งที่มีเป้าหมายตรงกันว่า นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ทุกองค์กรต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว หากแต่พวกเขาจะมีวิธีการบรรลุจุดหมายนั้นได้อย่างไร มีอะไรที่ต้องเรียนรู้และลงมือทำเพิ่มอีกบ้าง รวมถึงโอกาสที่พวกเขาจะได้จากการทำสิ่งนี้คืออะไร จากคำถามทั้งหมดนี้ ทำให้ทั้งสองชวนผู้เชี่ยวชาญตัวจริงจากทั่วโลกมาร่วมออกแบบการเรียนรู้ของหลักสูตรที่แม้แต่ผู้ก่อตั้ง “ยังต้องมาเรียนด้วย” หลักสูตรนี้ขึ้นมา

คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารสถาบันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หรือ ABC กล่าวว่า ปัจจุบันเราจะเห็นว่าผู้คนตื่นตาตื่นใจกับการมาถึงของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในทุกๆ อุตสาหกรรม แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มีผลกระทบต่อชีวิตไม่แพ้กัน และกำลังจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพวกเราคือสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และกำลังจะมีผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตของผู้คนทุกคนมากกว่าที่คิด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนต้องตระหนักและเห็นความสำคัญของความเร่งด่วนนี้ เพื่อรีบปรับตัว รวมถึงมองหาโอกาสที่จะพลิก “วิกฤต” ให้กลายเป็น “โอกาส” ได้

นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ได้กล่าวถึงที่มาและการก่อตั้งหลักสูตร Sustainability Transformation Xponential หรือ STX เอาไว้ว่า RISE คือสถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรที่มีเป้าหมายในการเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการ ช่วยให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีความรู้ความสามารถที่จะสร้างนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กรแบบก้าวกระโดดหรือเรียกว่า “การสร้าง S-Curve ใหม่” ให้กับองค์กร

แต่เมื่อได้รับรู้ถึงความเร่งด่วนของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่ง RISE เองก็เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย จากการที่เราเข้าไปช่วยองค์กรต่างๆ ให้สามารถสร้างธุรกิจหรือนวัตกรรมใหม่ จึงได้กลับมาทบทวนอีกครั้งว่า ยิ่งเราทำแบบนี้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้โลกร้อนมากขึ้นเท่านั้น จึงได้มีการตั้งเป้าหมายให้ RISE ใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งข้อ โดยนอกจากที่จะขับเคลื่อนเพื่อให้สามารถเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วเรายังมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนของประเทศไทยหใ้ได้อย่างน้อย 1 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย ซึ่งประเทศเราถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปริมาณการปล่อยคาร์บอนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค จึงถือว่าเป็นโอกาสดีที่หลักสูตร STX จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้บริหารได้ให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีปฎิบัติ เพื่อทรานส์ฟอร์มธุรกิจของตัวเองให้รับกับ Zero Carbon Economy ให้ได้โดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ นายแพทย์ศุภชัย ยังได้กล่าวเสริมถึงหลักสูตร STX เอาไว้อีกว่า “RISE มีความตั้งใจให้หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรทรานส์ฟอร์มผู้บริหารด้านความยั่งยืนหลักสูตรแรกของประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะทำให้ธุรกิจชนะและสังคมพัฒนาได้ โดยนายแพทย์ศุภชัยได้ยกตัวอย่างแรงบันดาลใจจากแบรนด์รองเท้ายี่ห้อหนึ่งที่สามารถสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ได้ โดยพวกเขาได้ผลิตรองเท้าที่สามารถรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และจะมีการเก็บเงินในรูปแบบการสมัครสมาชิกหรือ Subscription ในทุกๆ เดือน โดยเมื่อครบ 6 เดือนแล้ว ทางแบรนด์จะมีการส่งรองเท้าคู่ใหม่มาให้พร้อมนำคู่เก่ากลับไปทำการรีไซเคิล อีกตัวอย่างหนึ่งที่นายแพทย์ศุภชัยได้กล่าวถึง คือแบรนด์สตาร์ทอัพที่ผลิตเนื้อปลาจากสเต็มเซลล์ หรือ Stem Cell ของปลา ที่ทำให้เราสามารถกินเนื้อปลาหรือนำมันไปแปรรูปได้โดยไม่ต้องฆ่าปลาจริงๆ

เหล่านี้เป็นตัวอย่างของธุรกิจที่กำลังช่วยเปลี่ยนโลกให้กลายเป็น Zero Carbon Economy ซึ่งเมื่อผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองมาสู่ส่วนนี้ ก็จะทำให้ธุรกิจต้องปรับตัว และจะทำให้งผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้น หลักสูตร STX จึงถูกสร้างขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่จะทรานส์ฟอร์มผู้บริหารให้มีความพร้อมต่อการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่สามารถช่วยพัฒนาสังคมและโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยภายในงาน ได้รับเกียรติจาก ‘คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์’ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และคุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโอกาสภายใต้วิกฤตนี้ในเวทีเสวนาหัวข้อ “Climate Catalyst: Unveiling the Risks and Opportunities for Humanity and Corporations”

โดยทางคุณเกียรติชาย ได้ให้ข้อมูลถึงความเร่งด่วนของวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เริ่มส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน และจะทำให้โลกเกิดวิกฤตขึ้นเร็วมากกว่าที่คิดโดย 4 วิกฤตหลักที่เกิดจากการที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นและกำลังเปลี่ยนแปลงโลกของเราในทิศทางที่ไม่เหมือนเดิม ได้แก่

  1. วิกฤตน้ำท่วม ถือเป็นวิกฤตจากสภาพภูมิอากาศที่เริ่มแปรปรวน และเริ่มส่งผลกระทบต่อหลายๆ ประเทศทั่วโลก ทำให้แม้แต่ประเทศที่ไม่เคยประสบปัญหานี้มาก่อนก็ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในขณะที่ประเทศซึ่งเจอกับวิกฤตเหล่านี้อยู่แล้ว ก็ต้องพบกับความรุนแรงที่มากขึ้นและมีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น เช่น น้ำท่วมที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 140 ปี และคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากมาย
  2. วิกฤตไฟไหม้ป่า อีกหนึ่งวิกฤตซึ่งรุนแรงมากกว่าที่หลายคนคิด เพราะมันส่งผลต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า พื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ป่าสูงมากที่สุดคือเขตอุทยาน และรองลงมาคือเขตเกษตรกรรมไป วิกฤตที่ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากสาเหตุหลักที่อุณหภูมิโลกเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้โลกตกอยู่ในภาวะไม่ต่างจากการอบซาวน่า
  3. วิกฤตภัยแล้ง เป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการผลิต และภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่งผลให้ระบบห่วงโซ่ทางอาหารเปลี่ยนแปลงไป เนื่องมาจากผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ จากฤดูกาลที่มีความผันผวนอย่างรุนแรง โดยวิกฤตนี้เกิดจากการที่โลกร้อนมากขึ้นจนทำให้แผ่นน้ำแข็งละลาย ก่อนจะกลายเป็นไอน้ำที่ส่งผลให้เกิดความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงจนผิดปกติ โดยวิกฤตนี้เกิดขึ้นเร็วมากกว่าที่มีการทำนายเอาไว้เป็นอย่างมาก
  4. วิกฤตคลื่นความร้อนหรือ Heatwave เป็นอีกหนึ่งวิกฤตที่หลายประเทศกำลังพบเจอ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยคลื่นความร้อนดังกล่าว ได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘Heat Island’ หรือปรากฎการณ์เกาะความร้อน ที่โดยมากมักพบในพื้นที่เมืองที่มีการกระจุกตัวของการอยู่อาศัยและมีปริมาณการใช้พลังงานร่วมกันจำนวนมาก สิ่งนี้เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังสร้างผลกระทบต่อทั้งสุขภาพ ไปจนถึงคร่าชีวิตของผู้คนมากมาย

ทุกวิกฤตข้างต้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงและความกังวลให้กับทุกฝ่าย ซึ่งจากการประชุม COP27 หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ ประเทศอียิปต์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุมต่างเห็นตรงกันว่า วิกฤตนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทั่วโลกต้องมองหาวิธีที่ดีและรวดเร็วที่สุดในการแก้ไข ซึ่งตอนนี้ประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรปกำลังเปลี่ยนกฎเกณฑ์ครั้งใหญ่เพื่อผลักดันให้ประเทศอื่นทั่วโลกทรานส์ฟอร์มตัวเองเพื่อร่วมมือและช่วยกันหาทางออกให้กับปัญหานี้อย่างจริงจังกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

อีกท่านที่มาให้มุมมองในฐานะองค์กรระดับโลกคือ “คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้ให้มุมมองเอาไว้ว่า ในวันนี้สิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำนั้น จะไม่สามารถใช้วิธีการแบบปกติได้อีกต่อไป เพราะสิ่งเหล่านั้นมันสายเกินไปแล้ว ทุกฝ่ายต้องมองถึงวิธีการแบบดิสรัปชั่น (Disruption) ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวสำคัญในการเร่งจัดการกับปัญหา เช่น การนำเทคโนโลยีการตรวจจับคาร์บอน หรือ Carbon Capture เข้ามาตรวจจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากปล่องควันของโรงงานมาเป็นคาร์บอนเหลวแล้วนำลงใต้ดิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Northern Lights ที่มีเป้าหมายในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยี Quantum Computing ที่จะช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศ โดยเร่งแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังน้ำ พลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ และพลังงานลม

ซึ่งการ Disrupt ด้วยเทคโนโลยีนี้ยังเป็นทั้งโอกาสของธุรกิจที่จะสามารถทำกำไร สร้างการเติบโต พร้อมทั้งยังช่วยให้โลกสามารถฝ่าฟันวิกฤตสภาพภูมิอากาศไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโอกาสที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้มีอยู่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่โอกาสอยู่ทั่วทุกมุมโลกที่ธุรกิจสามารถเข้าไปทำกำไรได้

นอกจากนี้ คุณธนวัฒน์ ยังได้กล่าวถึง 5Rs Framework ของไมโครซอฟท์ ที่ใช้ประกอบการสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจในยุคที่ความยั่งยืนเป็นเรื่องจำเป็นเอาไว้ ดังนี้

  1. Record ลำดับแรกสุดของการสร้างหรือทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้พร้อมต่อ Zero-carbon Economy คือเราต้องถอยมารู้สถานะของธุรกิจเราก่อน ว่ากำลังส่งผลกระทบต่อโลกมากน้อยแค่ไหน โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ขององค์กรเพื่อรู้แนวทางในการดำเนินงานต่อ รวมถึงสิ่งที่ต้องวางแผนในการจัดการต่อไป
  2. Report คือการที่องค์กรต้องมีช่องทางในการติดตามผลทุกการกระทำที่อาจส่งผลเสียต่อโลกแบบทันที (Real-time) และทำให้การนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้ทันสมัยที่สุดทันสมัยที่สุดเพื่อให้สามารถปรับตัวและวางแผนได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที อย่างเช่นในไมโครซอฟท์เอง ได้มีการทำ ‘Sustainability Dashboard’ เพื่อติดตามกิจกรรมการปล่อยคาร์บอนขององค์กรอย่างละเอียด
  3. Reduce คือการลดกิจกรรมที่องค์กรมีการปล่อยคาร์บอน ยกตัวอย่างเช่นไมโครซอฟต์ ที่มีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในกระบวนการผลิต ที่สามารถลดการใช้ทรัพยากรแต่เพิ่มกำลังการผลิตได้
  4. Remove คือการเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจของตัวเองเพื่อลดการสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ให้น้อยที่สุดได้หรือจการปล่อยคาร์บอนในองค์กร
  5. Replace คือการแทนที่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกองค์กรรต้องเข้าใจและมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่จะมาแทนที่กิจกรรมแบบดั้งเดิมที่ไม่ดีต่อโลกได้

ตลอดการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ทั้ง 4 ท่าน ได้ฉายภาพให้ทุกคนได้เห็นความสำคัญและความเร่งด่วนของวิกฤตนี้ที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัว เพื่อที่จะสามารถเปลี่ยนวิกฤตนี้สู่โอกาสทางธุรกิจ ไปพร้อมกับร่วมด้วยช่วยกันรักษาโลกผ่านการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ให้กับโลกได้

เกี่ยวกับหลักสูตร STX หรือ Sustainability Transformation Xponential

หลักสูตรทรานส์ฟอร์มผู้บริหารด้านความยั่งยืนหลักสูตรแรกของประเทศไทย

ธุรกิจของคุณจะอยู่รอดได้อย่างไร หากโลกใบนี้ไม่ดำรงอยู่อีกต่อไป?

เพราะตอนนี้โลกกำลังเผชิญกับภัยคุกคามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ วิกฤตสภาพอากาศกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกคนและทุกองค์กรต้องร่วมมือกันแก้ไขในทันที RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคมองเห็นถึงความเร่งด่วนและสำคัญของเรื่องนี้ อีกทั้งยังเห็นจุดเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์ ที่จะช่วยให้ผู้บริหารองค์กรสามารถแปร “วิกฤต” นี้สู่ “โอกาสทางธุรกิจ” ได้

ทั้งหมดจึงกลายเป็นเหตุผลให้เราจัดทำหลักสูตร Sustainability Transformation Xponential หรือ STX ขึ้นมา ด้วยความมุ่งมั่นให้เป็นหลักสูตรที่เข้มข้นที่สุดในประเทศไทย ที่สามารถช่วยให้ผู้บริหาร นักลงทุน และผู้ทำงานด้านความยั่งยืนทุกคน ได้องค์ความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นไปขับเคลื่อนความยั่งยืนในองค์กรของตน และกลายเป็นผู้นำในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero Target) ได้เป็นกลุ่มแรกของประเทศ!

นอกจากความจำเป็นและเร่งด่วนที่ไม่อาจรอได้อีกต่อไป อีกหนึ่งเหตุผลขับเคลื่อนเบื้องหลังการสร้างหลักสูตรนี้ เกิดจากความกังวลและความสงสัยส่วนตัวของ ‘หมอคิด-นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์’ และ ‘โจ้-ธนา เธียรอัจฉริยะ’ สองผู้ก่อตั้งที่มีเป้าหมายตรงกันว่า นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่ทุกองค์กรต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว หากแต่พวกเขาจะมีวิธีการบรรลุจุดหมายนั้นได้อย่างไร มีอะไรที่ต้องเรียนรู้และลงมือทำเพิ่มอีกบ้าง รวมถึงโอกาสที่พวกเขาจะได้จากการทำสิ่งนี้คืออะไร จากคำถามทั้งหมดนี้ ทำให้ทั้งสองชวนผู้เชี่ยวชาญตัวจริงจากทั่วโลกมาร่วมออกแบบการเรียนรู้ของหลักสูตรที่แม้แต่ผู้ก่อตั้ง “ยังต้องมาเรียนด้วย” หลักสูตรนี้ขึ้นมา

โดยหลักสูตร STX จะพาผู้เรียนทุกคนเดินหน้าในเส้นทางสู่ความยั่งยืน ด้วยเนื้อหาเข้มข้นในตลอดระยะเวลา 10 สัปดาห์เต็มที่จะช่วยให้คุณเข้าใจวิกฤตสภาพอากาศ วิธีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และที่สำคัญคือการการเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจได้จริง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรของคุณกลายเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนได้สำเร็จ และพาธุรกิจก้าวไปสู่โอกาสใหม่อีกมากมาย

เพราะทุกวันนี้ ความยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงคำศัพท์ที่ใช้ในเชิงการตลาด หากแต่มันคือ “โอกาส” และ “ทางรอด” ที่ทุกองค์กรต้องคว้าเอาไว้ให้ได้

ไฮไลท์ของสิ่งที่คุณจะได้รับเมื่อเข้าร่วมหลักสูตร STX

- มากกว่า 10 เวิร์กช็อปที่เน้นการลงมือทำจริง โดยเรียนรู้จากกรณีศึกษาของบริษัทระดับโลกที่ทำสำเร็จมาแล้ว
- เข้าถึงเนื้อหาเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนระดับโลกกว่า 20 คน
- พร้อมโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับผู้นำด้านความยั่งยืนของประเทศไทยกว่า 100 คน
- ได้พิมพ์เขียว (blueprint) เพื่อนำไปประยุกต์ในการทรานส์ฟอร์มองค์กร
- ร่วมสร้างพันธสัญญาร่วมกันลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero Target) ให้เกิดขึ้นได้จริง

เข้าร่วมภารกิจของเราเพื่อโลกและเพื่อองค์กรของคุณไปกับเราได้แล้ววันนี้

ระยะเวลาเรียน: 30 สิงหาคม — 1 พฤศจิกายน 2566 (เรียนทุกวันพุธ)

สมัครเรียนที่: www.stx.riseaccel.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

โทร 095–245–6961

อีเมล์ Business@riseaccel.com

หรือแอดไลน์ @riseglobal (มีแอด)

เกี่ยวกับ RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร

RISE คือสถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคที่มีพันธกิจหลักในการผลักดันให้เกิดการเพิ่ม 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อเร่งสปีด นวัตกรรมผ่านโปรแกรมที่ได้รับการยอมรับจากกว่า 500 องค์กรทั่วทวีปเอเชีย ซึ่งบริการของเราครอบคลุมตั้งแต่ระดับการออกแบบกลยุทธ์ไปจนถึงการปฏิบัติที่สร้างนวัตกรรมได้จริง รวมถึงการเป็น Advisory Board ที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ ไปจนถึงติดตามผลลัพธ์ด้านนวัตกรรมขององค์กร

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ RISE ได้ที่ www.riseaccel.com

ประวัติ หมอคิด-นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์

นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE — Corporate Innovation Powerhouse หรือสถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้ร่วมก่อตั้งและบริหาร SEA Exponential Fund (SeaX) กองทุนสำหรับลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนําทั่วโลก

นายแพทย์ศุภชัยมีความสนใจในการประกอบธุรกิจมาตั้ง แต่อายุ 19 ปี ในขณะที่เขาเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้น ปีที่ 2 คณะ-แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในปี พ.ศ. 2548 เขาเป็นผู้คิดค้นและพัฒนาแอพพลิเคชั่นซื้อ-ขายหุ้นผ่านทางโทรศัพท์เป็นคนแรก ในประเทศไทย และได้ขายไปให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550

ปี พ.ศ. 2554 นายแพทย์ศุภชัยก่อตั้งบริษัท MCFIVA เอเจนซี่โฆษณาดิจิทัลที่ได้สร้างแคมเปญโฆษณาที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐให้กับบริษัทที่ติด Fortune 500 ทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปี พ.ศ. 2556 บริษัท D2C Inc (ประเทศญี่ปุ่น) ในกลุ่มบริษัท NTT Docomo ได้เข้ามาลงทุนและเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อเปิดตลาดของบริษัทสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปี พ.ศ. 2559 นายแพทย์ศุภชัย ได้ก่อตั้ง บริษัท RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มี ภารกิจหลัก คือการเพิ่ม 1% ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Domestic Product) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ RISE จึง ทํางานร่วมกับองค์กรต่างๆและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเร่งสปีดความเติบโตของนวัตกรรมองค์กร ผ่าน Corporate Innovation Platform หรือ แพลตฟอร์มที่ให้บริการนวัตกรรมองค์กร ที่ RISE ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อให้องค์กรต่างๆเกิดการพัฒนาและ ประสบความสำเร็จในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็น corporate accelerator, corporate innovation consulting, people transformation, venture building services และ experiential conference หรืองานสัมมนาด้านนวัตกรรมองค์กรที่เน้นการ ลงมือทําจริงที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งในปีนี้ Corporate Innovation Summit 2023 จะจัดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 14–15 พฤศจิกายนนี้

จนถึงวันนี้ RISE ได้สร้างระบบนิเวศน์ด้านนวัตกรรมองค์กรผ่านเครือข่ายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรชั้น นํากว่า 400 แห่งในเอเชีย สตาร์ทอัพกว่า 20,000 ราย และคอมมูนิตี้ด้านนวัตกรรมอีก 40 ประเทศทั่วโลก ภายในเวลา 5 ปี RISE ได้สร้างมูลค่า รวมไปแล้วทั้งหมดกว่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2563 RISE ได้รับเงินลงทุนกว่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นรอบ Seed ที่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ จบปริญญาตรีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและปริญญาโท Biomedical Informatics จาก Oregon Health and Science University อีกทั้งยังเป็น Alumni ของ Stanford’s Graduate School of Business และเป็นอดีตประธานสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

โทร 095–245–6961

อีเมล์ Business@riseaccel.com

หรือแอดไลน์ @riseglobal (มีแอด)

--

--

RISE Corporate Innovation Powerhouse

RISE is a leading corporate innovation powerhouse with a mission to drive 1% of South Ease Asia’s GDP.